แบบบ้านสไตล์ มินิมอลญี่ปุ่น

แบบบ้านสไตล์ มินิมอลญี่ปุ่น

แบบบ้านสไตล์ มินิมอลญี่ปุ่น

แบบบ้านสไตล์ มินิมอลญี่ปุ่น

แบบบ้านสไตล์ มินิมอลญี่ปุ่น “Minimal Japanese” ถือเป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่ใครหลายคนฝันถึง แม้จะเป็นสไตล์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่กลับเป็นอีกสไตล์บ้านที่กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่หลงใหลแนวคิดและไลฟ์สไตล์แบบ มินิมอลลิซึม (Minimalism) ที่ต้องการมีบ้านที่มีดีไซน์สวย เรียบง่าย เน้นใช้งานได้จริง ชื่นชอบความโปร่งโล่งสบาย ชวนให้ผ่อนคลาย รวมถึงเส้นสายที่มองแล้วสบายสายตา Minimal Japanese เป็นบ้านที่คุณจะต้องหลุมรักแน่นอน

“Minimal Japanese” พื้นที่เฉพาะและวิถีแห่งเซน

แบบบ้านสไตล์ มินิมอลญี่ปุ่น

สู่ดีไซน์เรียบง่ายแต่แตกต่างสไตล์ญี่ปุ่น สำหรับหลายคนที่อยากรู้ว่า “Minimal Japanese” คืออะไร? Minimal หรือ Minimalism คือวิถีการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย  มีเพียงสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน ปราศจากสิ่งของฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็น แม้เราจะคุ้นเคยกับแนวคิดมินิมอลจากดีไซน์บ้านและสิ่งต่างๆ จากหลายประเทศ แต่ “Minimal Japanese” นั้นแตกต่างออกไป และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจากลักษณะพื้นที่และภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมือนใครของแดนอาทิตย์อุทัยแห่งนั่นเอง

  เนื่องจากพื้นที่อันจำกัดของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องใช้ชีวิตในพื้นที่แคบๆ จนเป็นเรื่องปกติ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยการนำสิ่งที่ไม่สำคัญต่อการดำรงชีวิตออกไปให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตเท่านั้น นอกจากนี้

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่นที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นเกาะ และมีรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกมากกว่าประเทศอื่น จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติ จนเกิดความเสียหายกับที่อยู่อาศัยและข้าวของบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้รูปแบบการออกแบบบ้าน Minimal Japanese จึงให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย ไม่ใช้สิ่งฟุ่มเฟือย แต่เน้นความสวยสบายตาที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก

  นอกจาก “Minimal Japanese“ จะโดดเด่นด้วยความมินิมอล เรียบง่าย เน้นการใช้งานได้จริง ยังมีจุดเด่นในเรื่องของการเลือกใช้สีเรียบๆ เช่น โทนสีธรรมชาติ ซึ่งมีความสว่าง แต่สบายตา และความรู้สึกสงบ  รวมถึงเส้นสายน้อย เนื่องจากสุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเซน ซึ่งมีแก่นคือ ความเรียบง่าย ไม่ยึดติด เน้นการเข้าสู่ธรรมชาติ Minimal Japanese จึงทำให้ผู้คนมีเวลาอยู่กับตัวเอง ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านได้หลบหนีจากความวุ่นวายภายนอก เข้าสู่บ้านที่เป็นการพักผ่อนอันเรียบง่ายได้อย่างแท้จริง

        Minimal Japanese House Style จึงตอบสนองทั้งสุนทรียศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น และตอบโจทย์ความสวยงามสบายตาและการใช้งานอย่างลงตัว ทำให้แนวคิด Minimal Japanese ถูกส่งต่อจนเป็นการออกแบบที่คนผู้คนทั่วโลกสนใจไม่แปลกใจที่ใครหลายคนฝันจะมีบ้านสวยเรียบง่าย เน้นการใช้งานจริง และเป็นของตัวเอง สำหรับผู้ที่สนใจบ้าน Minimal Japanese House Style นั้นหัวใจสำคัญ คือ

1.ใช้ทุกพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Minimal

       กรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีประชากรหนาแน่นมาก พื้นที่อยู่อาศัยจึงมีจำกัดตามไปด้วย แต่บ้านสไตล์ Minimal Japanese ยังคงความสวยอบอุ่นและเรียบง่ายแม้อยู่บนพื้นที่ที่จำกัด สิ่งสำคัญคือการจัดวางผังบริเวณบ้านที่เน้นการใช้งานของทุกๆ พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการออกแบบอาคาร ที่เน้นการใช้เส้นตั้งและเส้นนอนที่มีความเรียบง่าย และเกิดความโปร่งโล่งของพื้นที่ร่วมด้วย

2.น้อยแต่มาก เรียบแต่ตอบโจทย์  คู่มือที่สำคัญที่สุดของการสร้างบ้านสไตล์ Minimal Japanese คือดีไซน์ที่เรียบง่าย เน้นเฉพาะสิ่งที่มีจำเป็น และใช้งานได้จริงเท่านั้น Minimal Japanese House Style จึงให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรม พื้นที่ และการออกแบบโดยยึดหลัก “Less is More” เลือกสรรวัสดุ เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งต่างๆ ให้น้อย แต่เกิดประโยชน์มากเพื่อให้บ้านออกมาดูสบายตา สวยเรียบง่ายแต่ตอบโจทย์การใช้งาน

การออกแบบทั้งภายในและภายนอกของบ้านมินิมอลสไตล์ญี่ปุ่นจึงต้องเลือกวัสดุที่ดีไซน์เรียบลงตัว แต่ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เมื่อพูดถึงเส้นสายและรูปทรงของ Minimal Japanese House Style นั้นโดดเด่นที่ความเรียบง่าย ไม่รกสายตา เส้นตั้งและเส้นนอนทำให้บ้านสไตล์ Minimal Japanese ดูสวยสบายตายิ่งขึ้น อีกหัวใจสำคัญคือการเลือกวัสดุอย่างพิถีพิถันโดยเลือกจากดีไซน์ที่สวยเรียบ แต่ตอบโจทย์การใช้งาน ไม่ใช่แค่เพียงการตกแต่งภายในหรือเฟอร์นิเจอร์เท่านั้น แต่รวมถึงหลังคา ผนัง ไปจนถึงพื้นที่รอบบ้านอีกด้วย    

การออกแบบ Minimal Japanese House Style ให้ความสำคัญกับการใช้พื้นที่ที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นวัสดุที่มีดีไซน์เรียบง่ายแต่มีประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุจึงเป็นอีกจุดสำคัญที่คนอยากมีบ้าน Minimal Japanese ต้องใส่ใจ โดยเลือกวัสดุที่ตอบครบทั้งดีไซน์และฟังก์ชันเพื่อตอบโจทย์บ้านมินิมอลสไตล์ญี่ปุ่นให้สมบูรณ์แบบ

บ้านโมเดิร์นมินิมอลสไตล์ญี่ปุ่น

Minimal

น้อยกับมากอะไรดีกว่ากัน ถ้าเป็นตัวเงินหรือสิ่งของมากก็คงดีกว่า แต่น่าแปลกที่ทำไมบางสถานการณ์ถึงรู้สึกว่าน้อยกลับดีกว่ามาก อย่างบ้านสไตล์มินิมอล (Minimal) หรือการแต่งบ้านแบบ MUJI ที่เน้นเส้นสายภายนอกที่เรียบ ๆ ภายในการตกแต่งเรียบง่าย เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย 

สีสันของสไตล์มินิมอลมักเลือกใช้สีเพียงไม่กี่คู่สี และเน้นการออกแบบที่เห็นเส้นขอบชัดเจน รูปทรงเรขาคณิต เป็นความน้อยที่รู้สึกได้ทันทีว่าอุ่นใจมากในทุกครั้งที่มอง จึงไม่น่าแปลกที่บานสไตล์นี้จะเริ่มเข้ามานั่งอยู่ในใจของคนรักบ้านรุ่นใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆโครงการบ้านจาก LITTLE HOUSE PECAN แม่น้ำคู้ 3 ระยอง

เป็นโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดสไตล์ญี่ปุ่น ดีไซน์ภายนอกไม่หวือหวา เน้นผนังโทนสีขาวสะอาดตาและงานไม้ตัดด้วยกระเบื้องหลังคาสีเข้ม เมื่อได้มองมาก็รู้สึกเหมือนจิตใจจะสงบลงได้อย่างง่ายดาย ด้านหน้ามีสเปซโล่ง ๆ สำหรับทำเป็นที่จอดรถหรือนั่งเล่นอเนกประสงค์ในช่วงกลางวันได้ ผนังด้านข้างแอบซ่อนฟังก์ชันตู้เก็บของแบบแนบเนียน แม้จะมีความเรียบง่ายแต่ออกแบบมาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบ้านจัดสรร

สิ่งที่สะดุดตาตั้งแต่ด้านหน้า คือ ประตูที่เชื่อมระหว่าง 2 บ้าน เป็นซุ้มคอนกรีตสีขาวใส่ประตูไม้บานคู่ตีระแนงซี่เล็ก ๆ คล้ายประตู senbon-koshi (หมายถึง ระแนงนับพัน เพราะประกอบด้วยไม้ซี่เล็ก ๆ) แบบช่างญี่ปุ่นดั้งเดิมสนามหญ้าวางทางเดินคอนกรีตสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นระยะ ติดผนังจัดสวนกระบองเพชรโรยด้วยกรวดเหมือนทะเลทรายจำลอง เพิ่มลูกเล่นน่ารัก ๆ ด้วยช่องแสงวงกลมใส่ระแนงไม้บนผนัง เป็นการออกแบบพื้นที่กลางแจ้งโดยผสมผสานเส้นสายเรขาคณิตและหลายๆ องค์ประกอบจากหลาย ๆ ภูมิภาคของโลกได้อยางน่ามอง

ภายในบ้านแต่ละหลังมีการแบ่งฟังก์ชันหลายรูปแบบต่าง ๆ มีทั้งชั้นเดียวหรือการแบบที่ยกระดับแบ่งพื้นที่ใช้ร่วมกันและแยกห้องส่วนตัวไว้ในส่วนที่สูงกว่า จัดวางเลย์เอ๊าต์ใหม่ที่ดูโปร่งโล่งและใช้สะดวกสบาย เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันทุกหลังคือการเลือกสีและเฟอร์นิเจอร์จะเป็นสีกลาง ๆ อาทิ ขาว ครีม น้ำตาล เทา เฉดล้อไปกับธรรมชาติ และฟอร์มเป็นแบบมินิมอลเส้นสายเรขาคณิตเรียบง่ายแต่ดูโมเดิร์น

โดดเด่นกับม่านมู่ลี่ไม้  ผลลัพธ์คือความเรียบง่ายอย่างมีสไตล์และให้ความรู้สึกอบอุ่น ขาว ๆ และสีไม้มีความเป็นโฮมมี่สิ่งที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของญี่ปุ่นในแบบบ้านสมัยใหม่ นอกจากงานไม้ไม่ทำสี ระแนงไม้ ม่านมู่ลี่ไม้ ยังมีเบาะนั่งกับพื้นที่มาคู่กับโต๊ะญี่ปุ่นเตี้ย ๆ ที่ให้ความรู้ถึงติดดินอ่อนน้อมถ่อมตัว

ซึ่งเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ของบุคลลิกความเป็นญี่ปุ่นที่ยังส่งต่อมาทุกยุคสมัยในบ้านแต่ละหลังจะตกแต่งโดยเน้นให้มีความรู้สึกแบบญี่ปุ่นผ่านของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ในระดับที่ไม่เท่ากัน บางหลังเฟอร์นิเจอร์โครงสร้างเหล็กมีเส้นตรงเส้นโค้ง นำเสนอความเรียบง่ายและทันสมัยแบบญี่ปุ่นสไตล์โมเดิร์นมินิมอล โทนสีหลากหลาย แต่บางหลังจะเน้นความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เป็นผู้ใหญ่ โทนสีขรึม ๆ ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้และเส้นสายตรงไปตรงมาขึ้นมากอีกนิด

ครัวแสนน่ารักและอบอุ่น

Minimal

ครัวในฝันสำหรับคุณแม่บ้านที่ชื่นชอบความน่ารัก ด้วยขนาดกะทัดรัดและการใช้สีขาวเป็นหลักตกแต่งด้วยงานไม้ให้ดูโฮมมี่  บ้านจัดสรร มีครบฟังก์ชันที่จำเป็นต้องใช้ เคาน์เตอร์ครัวในตัวอย่างนี้แบ่งเป็น 2 ด้าน แยกฟังก์ชันเคาน์เตอร์หนึ่งสำหรับล้าง เตรียมอาหาร เตาแก๊ส เหนือศีรษะเป็นตู้เก็บของเล็ก ๆ  ส่วนอีกด้านหนึ่งมีช่องว่างใต้เคาน์เตอร์ซ่อนชุดโต๊ะล้อเลื่อนดึงออกมาทานข้าว ดื่มกาแฟ

และใช้งานอเนกประสงค์ได้ห้องนอนบรรยากาศชวนพักผ่อนสไตล์เอเชียที่คุ้นเคยกับการนอนแบบติดพื้น (floor bed) แต่ห้องนี้บิลท์ฐานเตียงยกขึ้นจากพื้นเหมือนเป็นเวทีไม้แล้ววางฟูกลงไปง่าย ๆ ให้สามารถใช้พื้นที่ว่างที่เหลือปลายเตียงนั่งเล่นได้ ข้างใต้มีฟังก์ชันเสริมเป็นช่องกล่องใส่ของเก็บของใช้ที่ไม่ต้องการให้รกตา เป็นการบริหารพื้นที่จัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ

ครัวแสนน่ารักและอบอุ่น

ทำให้ห้องดูแลทำความสะอาดง่ายไม่รกตาคอนเซ็ปต์หลักของการแต่งบ้านสไตล์มินิมอล คือ Less is More ภายในบ้านจึงต้องมีที่ว่าง โปร่ง โล่ง เฟอร์นิเจอร์ไม่ต้องเยอะแต่ฟังก์ชันต้องครบ เทคนิคที่ใคร ๆ ก็ยึดในการแต่งบ้านสไตล์มินิมอล คือ ใช้สีกลาง ๆ หรือเอิร์ธโทนให้ดูสบายตา, เฟอร์นิเจอร์รูปทรงเรขาคณิต, เลือกวัสดุเป็นไม้, ใช้ประตูบานเลื่อน สิ่งสำคัญคือการออกแบบตกแต่งให้มีพื้นที่จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบไม่รกตา

อาจจะซ่อนฟังก์ชันจัดเก็บตามจุดต่าง ๆ อาทิ ผนัง ใต้บันได ใต้เตียง เป็นต้น ส่วนงานไม้สามารถใช้ได้หลายเฉดสี แต่ละสีก็ให้อารมณ์ต่างกัน ไม้สีเข้มจะดูเป็นผู้ใหญ่กว่า ถ้ามีไม้ที่สีเข้มเกินความต้องการก็อาจจะใช้เทคนิคการกัดสีไม้เพื่อให้สีอ่อนลงจะทำให้ได้อารมณ์ไม้ที่ดูทันสมัยขึ้น