รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

รีวิวบ้าน 2 ชั้น Nightingale House บ้านระแนงไม้ ปลุกธรรมชาติที่มีอยู่ในจิตวิญญาณเสน่ห์ของความเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ วัสดุ หรือฟังก์ชันเท่านั้น แต่อยู่ที่การรู้คุณของธรรมชาติ และพยายามจัดสรรพื้นที่ใช้ชีวิตให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในทุกฤดูกาล อาจจะเป็นการจัดสวนหน้าบ้านหรือสวนในบ้าน ตามแต่เจ้าของบ้านจะต้องการหรือพื้นที่จะอำนวย สำหรับบ้านหลังนี้ย่านที่พักอาศัยในเขตชานเมือง

บ้านฟาซาดไม้ระแนง

ซึ่งพัฒนาโดยการสกัดภูเขาออกบางส่วนในช่วงทศวรรษ 1950 แล้วถูกแทนที่ด้วยเมือง สถาปนิกจึงต้องการฟื้นคืนความมีชีวิตชีวาในอดีต ด้วยการสร้างบ้านที่เชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่มีสวนด้านหน้า 2 แห่ง และสวนภายใน 3 แห่ง

บ้านพื้นที่ 130 ตารางเมตรนี้ ตั้งอยู่ในที่เนินย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โปรเจ็กต์พยายามที่จะนำความผุดขึ้นของธรรมชาติภายในร่างกาย สร้างสมดุลกับภูมิทัศน์โดยรอบ กับรูปแบบที่อ่อนโยนของภูเขาที่อยู่เบื้องหลัง หลังคารูปสามเหลี่ยมสามหลังคาลาดต่างระดับ ต่างองศา และทิศทางต่าง ๆ ปรากฏขึ้นอย่างโดดเด่นเหนอหลังคาชั้นล่างที่เป็นเมทัลชีทสีดำรูปตัว L บ้านที่ติดถนนต้องการความเป็นส่วนตัวสูงจึงติดระแนงไม้ไม้แนวตั้งพรางสายตา ในณะที่ยังให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาในพื้นที่บ้านได้ มองดูไกล ๆ เหมือนบ้านมีศาลาโปร่ง ๆ อยู่ข้างบน

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

หน้าบ้านจัดสวนและทางเดินหินพร้อมม้านั่งเล็ก ๆ ใต้ชายคา ให้เด็ก ๆ ในละแวกบ้านสามารถแวะมานั่งพักหรือเล่นสนุกได้  ใกล้กันเป็นพื้นที่เก็บฟืนของบ้าน การตกแต่งบ้านลักษณะนี้ ทำให้รู้สึกว่าแม้ตัวบ้านจะตั้งใจใส่ความเป็นส่วนตัวลงไป แต่บรรยากาศในภาพรวมก็ยังเต็มไปด้วยความเป็นมิตรและเอื้ออาทร

นอกจากสวนนอกบ้านแล้ว เจ้าของบ้านต้องการให้มีพื้นที่สวนแบบส่วนตัวภายใน สถาปนิกจึงแยกส่วนของอาคารออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ  โดยรักษาระยะห่างและเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างช้า ๆ อาคารทั้งหมดประกอบด้วย บ้านไม้ชั้นเดียวรูปตัว L และอาคาร 2 ชั้นมีหลังคาทรงจั่วชายคาสั้นๆ ที่ลดหลั่นกันแต่ก็เชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างพื้นที่ open Space เปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง  เป็นจุดที่ดึงแสงรับอากาศบริสุทธิ์ ขณะที่ลมพัด แสงส่องลงมา และเงาสีเขียวส่องประกายระยิบระยับทำให้บ้านเต็มไปด้วยชีวิตชีวา

เมื่อเดินผ่านประตูและสวนหน้าบ้านเข้ามาภายใน จะเห็นรายละเอียดของบันไดบ้านที่ใส่ความโค้งเข้าไไปในระหว่างลูกตั้ง เป็นตัวเอกของบ้านที่ดึงแนวสายตาก่อนใคร จากนั้นจะเริ่มมองไปที่ผนังกระจกรอบด้านที่ให้รู้สึกให้ความลึกและความกว้าง สร้างการเชื่อมต่อเชิงพื้นที่แบบหลวม ๆ ล้อมคอร์ทยาร์ดที่แสวนสดชื่นเอาไว้ บ้านระแนงไม้

สวนเล็กๆ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  Tsubo Niwa ซึ่งสวนชั้นในของบ้านไม่ได้มีอยู่แค่จุดเดียว แต่มีทั้งหมด 3 จุด กระจายกันอยู่ ซึ่งสวนตรงกลางจะทำหน้าที่เป็นกันชนที่เชื่อมระหว่างสวนด้านหน้าและภายใน ในขณะที่สวนที่มุมทิศใต้เป็นจุดรับลม ปลูกดอกไม้ พืชผล ผสมผสานสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอย่างอ่อนโยน ในยามเช้าอาจจะมีนกน้อย ๆ สัตว์ต่างๆ แวะเวียนมาเยี่ยมสวนนี้ด้วย ทำให้บ้านไม่ได้เป็นมิตรเฉพาะกับคนเท่านั้น แต่เอื้ออารีกับสัตว์ด้วยเช่นกัน

รีวิวบ้าน 2 ชั้น

ด้วยความที่บ้านวางตำแหน่งฟังก์ชันต่าง ๆ ล้อมที่ว่างซึ่งจัดเป็นสวนเอาไว้ แล้วใส่ผนังกระจกในบริเวณกว้าง ทำให้แต่ละด้านของบ้านได้รับวิวและความสดชื่นจากธรรมชาติ ที่แทรกอยู่ได้แม้จะอยู่ในห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว หรือห้องอ่านหนังสือ อย่างชิดใกล้

เวลาเดินขึ้นลงบันไดก็สามารถเก็บวิวได้เพราะผนังกระจกตรงจุดนั้นติดสูงจากพื้นจรดเพดานสองชั้น ให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นสูงขึ้นถึงปลายยอดไม้และท้องฟ้า และยังมองเลยออกไปเห็นสนามบินโอซาก้าและใจกลางเมืองโอซาก้าในระยะไกล ๆ ได้พื้นผิวไม้มีชีวิตชีวาขึ้นเมื่อแสงส่องเข้ามาในบ้าน มิติของแสงเงาที่ส่องลอดซี่ไม้ระแนงตกกระทบผนังและพื้น สร้างบรรยากาศที่น่ามองอย่างอบอุ่น

เสน่ห์ของความเป็นญี่ปุ่น อยู่ที่การใช้ชีวิตร่วมกับฤดูกาล แม้แต่ห้องน้ำ ห้องนอน จึงตั้งใจใส่ผนังกระจกเช่นกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คน บ้าน และธรรมชาติได้อยู่ร่วมกันอย่างชิดใกล้ สามารถเข้าถึงกันได้ง่ายราวกับเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของผู้คนภายนอกบ้านยุคใหม่นิยมใช้ระแนงไม้ในการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยที่บ้านยังคงรับแสงธรรมชาติและลมเข้าสู่ภายในได้ แต่ประตูหรือผนังระแนงเล็ก ๆ นี้

ในงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นก็มีเช่นกัน และมีมาตั้งแต่โบราณด้วย โดยมีชื่อเรียกว่า senbon-koshi หมายถึง “ระแนงนับพัน” เพราะประกอบด้วยไม้ซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ความถี่ของซี่ระแนงช่วยกรองแสงที่จะเข้าสู่ภายใน และพรางสายตาจากบุคคลภายนอกไปพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้ให้แค่ความสวยงาม ยังเป็นประโยชน์กับบ้านด้วยในหลายๆ ประการ

Tropical House จับมือวัสดุ สร้างมิติใหม่ให้บ้าน

Tropical House

ไม้ อิฐ และคอนกรีต เป็นวัสดุสามประสานที่เราคุ้นตากันดีในช่วงหลายปีมานี้ โดยเฉพาะในบ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล ที่นำเสนอเส้นสายแบบทันสมัยแต่เลือกใช้วัสดุบ้านๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นหลัก เชื่อหรือไม่ว่า ก่อนหน้านี้ก็ไม่มีใครนึกภาพออกว่าการนำวัสดุที่ไม่มีความเหมือนกันเลยสักนิด คอนกรีตดิบดูแข็งหนักแต่ทันสมัย ไม้ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ส่วนอิฐมีเสน่ห์แบบวัสดุพื้นบ้าน จะนำมาจับคู่สร้างบ้านให้ดูดีได้อย่างไร แต่เมื่อมีคนเริ่มเปิดใจลอง ก็ได้พบความต่างที่จับมือไปด้วยกันได้แบบไม่มีที่ติ

โครงการ Casa F บ้านสองชั้นบนเนินพื้นที่ 320 ตารางเมตร ในประเทศบราซิลหลังนี้ ออกแบบโดย Studio Bloco ที่แปลความเป็นตัวตนของบ้านจากความต้องการใช้งานของลูกค้า ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ให้รู้สึกถึงแสง ลม เงา ต้นไม้ครอบคลุมทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ประสานกับการค้นหาวัสดุที่เข้ากันเพื่อสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมรูปแบบเรียบง่าย โดยสรุปที่การหยิบจับสิ่งที่มีสัมผัสและคุณสมบัติแตกต่างมาอยู่รวมกัน แต่มีไอเดียในการนำเสนอที่ต่างออกไป ในขณะที่ขอบเขตฟังก์ชันชัดเจน

สถาปนิกวางแผนการใช้วัสดุที่มีสีและพื้นผิวตัดกัน ด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่างพิถีพิถันกับคุณสมบัติดั้งเดิม อย่างเช่น คอนกรีตเปลือย อิฐเซรามิก งานไม้ โดยยึดกลยุทธ์การผลิตซ้ำแต่ตีความใหม่ของวัสดุและใช้ในเทคนิคการก่อสร้าง ทิ้งวิธีการเรียงตัวแบบเดิม ใส่องค์ประกอบในลักษณะที่เบี่ยงเบนจากการใช้งานทั่วไป  การสลับโทนสีและพื้นผิวของบ้าน จึงถูกนำเสนอด้วยวิธีธรรมชาติ  เช่น ที่ชั้นบนจะเห็นผนังคอนกรีตหล่อในที่โชว์ริ้วลายแม่แบบในแนวนอน ตัดกับสีน้ำตาลเข้มของไม้ที่ตีผนังในแนวตั้ง ตัดเส้นสายตาให้แยกระหว่างสองชั้นอย่างคมชัดด้วยเหล็กตกแต่งบ้านสีดำ

ส่วนชั้นล่างพื้นผิวทึบแสงของบ้าน ประกอบขึ้นจากอิฐเซรามิกเนื้อแข็ง นำมาสร้างแพทเทิร์นการเรียงอิฐให้เหมือนการสานแบบสองทิศทางตรงข้าม ทำให้เกิดมิติของผนังที่มี Texture ยื่นออกมา ทำให้บ้านมีความน่าสนใจในแง่ของการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ให้ของที่มีอยู่แล้วดูแปลกตาอย่างสมดุล

บ้านโมเดิร์นทรอปิคอลโชว์อิฐ คอนกรีต ไม้

Tropical House

ในส่วนของฟังก์ชันใช้งาน สถาปนิกจัดให้โซนสาธารณะหรือบริเวณที่ใช้งานประจำวันหลัก ๆ ร่วมกันอยู่ชั้นล่าง ประกอบด้วย ครัว ห้องทานข้าว และมุมนั่งเล่นพักผ่อนดูทีวีเรียงกันไปในบ้านแบบ open plan ในส่วนนี้เราจะเห็นผนังอิฐโชว์แนวในแบบที่เราเคยเห็น จับคู่กับเพดานไม้สีน้ำตาลเข้ม พื้นปูกระเบื้องสีเทาเฉดใหล้เคียงกับคอนกรีต แต่เพิ่มสีขาวในส่วนเคาน์เอตร์ครัวและไอสแลนด์ วัสดุที่ขาวมันวางเพิ่มความรู้สึกทันสมัย แต่แอบใส่ความสนุกเพิ่มขึ้นด้วยวัสดุสีทองแดงของเหล็กออกซิไดซ์ที่กลมกลืนกับธีมสีหลักที่กำหนดไว้

ห้องนั่งเล่นดูผ่อนคลายสบายตากับโซฟาตัวใหญ๋หนานุ่ม เต็มไปด้วยความอบอุ่นจากวัสดุผ้า พรม และโทนสีที่จับคู่น้ำตาล ขาว เทา นอกจากนี้ยังมีความสว่างจากแสงธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากผนังกระจกใสขนาดใหญ่ เป็นบานเลื่อนยาวตามแนวอาคารกว่า 19 เมตร ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มการใช้แสงธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในพื้นที่ทางสังคมนี้ยังลานด้านข้างจัดเป็นสวนเขียวๆ สดชื่น เพียงแค่เลื่อนผ้าม่านออกก็รู้สึกเหมือนได้รวมเข้ากับพื้นที่ภายนอกแล้ว

สี Earth Tone ให้ความรู้สึกแบบหนึ่งในช่วงกลางวัน แต่เมื่อแสงอาทิตย์ค่อย ๆ ลับไปทีละน้อย แสงไฟสีวอร์มอุ่น ๆ เข้ามาแทนที่ ยิ่งมืดยิ่งเห็นได้ชัดถึงแสงเงาเมื่อกระทบกับวัสดุอิฐ คอนกรีต และไม้ ชวนให้รู้สึกอบอุ่น เปล่งประกายพลังแห่งความผ่อนคลายและความสุขได้อย่างเต็มอิ่ม เติมเต็มความงดงามของบ้านให้สมบูรณ์แบบ หยิบมาตกแต่งเมื่อไหร่ก็ไม่พลาด

ไม่เฉพาะชั้นล่างเท่านั้นที่จะสามารถชื่นชมใกล้ชิดธรรมชาติได้ เพราะสถาปนิกเลือกใส่วัสดุหลังคากระจกใสเป็น skylight ดึงแสงและวิวท้องฟ้าเข้ามาเก็บไว้ในบ้านบนชั้นสอง และยังมีสวนเล็ก ๆ ที่มองทะลุออกไปผ่านผนังกระจกได้ บ้านจึงดูปิดเป็นส่วนตัวในบางมุมและเป็นอิสระเต็มที่ในบางมุม เสริมการใช้สอยให้ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้ครบทุกข้อ

วัสดุแต่ละชนิดจะมีคุณลักษณะ คุณสมบัติในการใช้งานต่าง ๆ กัน บางชนิดแข็งแรงรับน้ำหนักได้ดี แต่ถ้าใช้ในบริเวณกว้างจะทำให้บ้านดูหนัก ทึบ อึดอัด  ในขณะที่วัสดุบางชนิดเนื้ออ่อนกว่า แต่สามารถระบายความร้อนให้บ้านได้ดี เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ วัสดุอีกชนิดบาง ใส ทำให้บ้านโปร่งเบาแต่ก็เปราะบางแตกหักง่าย การหยิบจับวัสดุแต่ละชนิดมาใช้งาน จึงต้องศึกษาข้อดีข้อเสียให้ครบทุกมิติ แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้สมดุลและตอบโจทย์บ้านเรามากที่สุด more info