บ้านพร้อมโซลาร์เซลล์

บ้านพร้อมโซลาร์เซลล์

บ้านพร้อมโซลาร์เซลล์ ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายคนหันมาสนใจติดโซล่าเซลล์บ้านมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าไฟได้ และยังเป็นการช่วยประหยัดการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าเยอะๆ ในช่วงกลางวัน สำหรับกระบวนการทำงานของแผงโซล่าเซลล์นั้น

จะทำหน้าที่เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานกระแสไฟฟ้า และทำการเก็บสำรองไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ จากนั้นจะมีการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรงให้เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ ทำให้คุณสามารถนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ได้กับอุปกรณ์ภายในบ้านทั่วไปได้

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทางเลือก ที่ปัจจุบันเจ้าของบ้าน จำนวนมากให้ความสนใจ ผู้เขียนเองในฐานะ ผู้ทำงานออกแบบบ้าน ทุก ๆ ครั้งที่ได้สัมภาษณ์พูดคุยงานออกแบบกับว่าที่ เจ้าของบ้านใหม่ เจ้าของบ้านเกือบ ทุกหลังมักถามถึงความคุ้มค่า ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์อยู่เสมอ

บ้านพร้อมโซลาร์เซลล์

หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ประหยัดค่าไฟบ้านได้จริงไหม

แผง ” โซล่าเซลล์ ” หลายคนคงรู้จักกันดีว่าเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ทดแทนไฟจากการไฟฟ้า ช่วยประหยัดค่าไฟต่อเดือนได้ ซึ่งแต่ก่อนนิยมใช้กันในโรงงาน เนื่องจากใช้ไฟในการผลิตค่อนข้างสูง หรือถ้าใครติดในบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนมีฐานะ

เพราะมีค่าติดตั้งสูง 800,000-1,000,000 บาท โดยอายุการใช้งานที่มีประสิทธิภาพเพียง 25 ปี ทำให้หลายๆคนมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะติดในบ้าน เพราะกว่าจะคืนทุนก็ใช้เวลาเกือบ 20-30 ปี

แต่ปัจจุบันมีการปรับลดราคาลงมา เพื่อให้บ้านพักอาศัยหยิบจับได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งมีการจัดแผงโซล่าเซลล์ ให้เหมาะกับการใช้ใน บ้าน มีตั้งแต่ขนาด 1(เล็ก) จนถึง 12(กลาง) กิโลวัตต์(kWp.) หรือเข้าใจง่ายๆมีตั้งแต่ 1,000-12,000 วัตต์ ซึ่งก็สามารถเลือกขนาดให้เหมาะแก่การใช้งานได้

โดยช่วงราคาเริ่มต้น 120,000 – 200,000 บาท เรียกว่าปรับราคามาน่าสนใจทีเดียว ทำให้คนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ส่วนคำถามที่มักได้ยินบ่อยๆ คือ ” หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ ประหยัดค่าไฟบ้านและคุ้มค่าในการลงทุนจริงหรอ

บ้านพร้อมโซลาร์เซลล์

5 สิ่งควรรู้ก่อนการติดโซล่าเซลล์บ้าน

1.สำรวจความพร้อมของสถานที่ก่อนติดโซล่าเซลล์บ้าน
การสำรวจความพร้อมของสถานที่ จะทำให้คุณรู้ว่าสามารถทำการติดโซล่าเซลล์บ้านได้หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบในเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้

ตรวจสอบกำลังไฟบ้าน
การตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้าน ทำให้รู้ว่าในแต่ละเดือนคุณใช้กำลังไฟอยู่ที่เท่าไร และควรเลือกติดโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม ในการตรวจสอบสามารถใช้หลักการคร่าวๆ อย่างการคำนวณด้วยค่าไฟที่ชำระในแต่ละเดือน ตัวอย่างเช่น

  • ค่าไฟเดือนนี้ 5,000 บาท ให้คุณทำการแบ่งค่าไฟออกเป็นตอนกลางวัน 70% และตอนกลางคืน 30% ดังนั้น ค่าไฟตอนกลางวันที่ใช้ไปจะอยู่ที่ 3,500 บาท และเฉลี่ยค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 4 บาทต่อหน่วย
  • นำจำนวนค่าไฟตอนกลางวันทำการหารด้วยค่าไฟฟ้าต่อหน่วย จะได้ 3,500÷4= 875 หน่วย
  • เอาเลขจำนวนหน่วยที่ได้ หารด้วยจำนวนวัน และจำนวนชั่วโมงที่มีแสงอาทิตย์เป็น (875÷30)÷9= 3.2 หน่วยต่อชั่วโมง

ดังนั้น การติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมคือ ขนาดที่ 3-5 กิโลวัตต์ (3KW) แต่วิธีนี้จะเป็นการคำนวณในเบื้องต้นเท่านั้น แนะนำว่าก่อนการติดตั้ง คุณสามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

รูปทรงของหลังคาบ้าน

  • หลังคาทรงจั่ว เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เพราะสามารถระบายความร้อนได้ดี ลักษณะของทรงหลังคาจะสูง ลาดชัน ทำให้สามารถติดโซล่าเซลล์ได้ง่ายที่สุด
  • หลังคาทรงปั้นหยา จะมีลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย และเป็นทรงที่นิยมใช้กันทั่วโลก ข้อดีของหลังคาประเภทนี้ที่สามารถปะทะลม กันแดด กันฝนได้ดี แต่การระบายความร้อนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในการติดโซล่าเซลล์บ้านสามารถติดตั้งได้ทุกทิศของหลังคา บ้านจัดสรร
  • หลังคาทรงเพิงแหงน สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ง่ายเช่นเดียวกับหลังคาทรงจั่ว เพราะมีพื้นที่หลังคาเยอะและกว้าง แต่ต้องระวังในเรื่องของการรั่วซึมเมื่อฝนตก เนื่องจากความลาดเอียงของหลังคาประเภทนี้น้อยมาก ส่งผลให้ระบายน้ำฝนได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ทิศทางที่เหมาะสมกับการติดตั้ง

  • ทิศเหนือ เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด เพราะในประเทศไทยนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้ แนะนำว่าไม่ควรติดโซล่าเซลล์บ้านหันแผงไปทางทิศเหนือ
  • ทิศใต้ เป็นทิศที่ควรหันแผงโซล่าเซลล์ไปทิศทางนี้ เพราะจะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ในการติดตั้งสามารถเอียงแผงเล็กน้อยประมาณ 13.5 องศา เพื่อให้แผงสามารถรับแสงได้อย่างเต็มที่
  • ทิศตะวันออก จะได้รับแสงแดดปานกลาง แต่ข้อจำกัดการรับแสงจะอยู่ในช่วงเช้า-เที่ยงเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับทางทิศใต้ การรับแสงของทิศตะวันออกจะได้รับแสงน้อยกว่า 2-16% จะส่งผลให้แผงโซล่าเซลล์ทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ทิศตะวันตก ประสิทธิภาพการรับแสงจะเท่ากับทางด้านทิศตะวันออก

2.ทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์แต่ละประเภท
ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์ ต้องแนะนำระบบการติดโซล่าเซลล์บ้านที่นิยมมากที่สุด จะเป็นระบบออนกริด ซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสำหรับการติดตั้งกับสถานที่อยู่อาศัย และราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้หลายคนเลือกที่จะติดตั้งระบบนี้

ทั้งนี้ แผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ซึ่งคุณสมบัติจะแตกต่างกันออกไปเพื่อรองรับการใช้งานที่ต่างกัน

  • แผงโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
  • แผงโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
บ้านพร้อมโซลาร์เซลล์

3.เลือกผู้ให้บริการในการติดโซล่าเซลล์
การเลือกผู้ให้บริการที่จะทำ การติดโซล่าเซลล์บ้าน ให้กับคุณ เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น เรื่องของความเชี่ยวชาญ การได้รับมาตรฐาน ราคาการติดตั้ง และการบริการหลังการขาย เป็นต้น

งบประมาณในการติดตั้ง
หากเทียบกับสมัยก่อนการติดตั้งโซล่าเซลล์จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันราคาการติดตั้งนั้นลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นโซล่าเซลล์ ความยากง่ายในการติดตั้ง และจำนวนแผ่นที่จะติดตั้ง

เลือกผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง
เนื่องจากหลายคนหันมาสนใจติดโซล่าเซลล์บ้านมากขึ้น ทำให้ในตลาดมีผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ค่อนข้างเยอะ แต่คุณควรเลือกผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญ และมีความน่าเชื่อถือ เพราะหากเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่เชี่ยวชาญจริงๆ จะทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาได้ อย่าลืมว่านี่เป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการที่มีความชำนาญจริงๆ และได้รับมาตรฐานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

4.ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
หลังจากที่ตรวจความพร้อมของสถานที่ รู้ชนิดของแผงโซล่าเซลล์ และเลือกผู้ให้บริการในการติดตั้งไปแล้ว มาสู่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การทำเรื่องขอติดโซล่าเซลล์บ้าน ขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนเลยทีเดียว และรายละเอียดของการขออนุญาตนั้น อาจจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แต่หากเป็นการติดโซล่าเซลล์ที่ใช้สำหรับบุคคลจะมีขั้นตอน

5.การดูแลแผงโซล่าเซลล์
เมื่อติดโซล่าเซลล์บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณควรหมั่นดูแล ตรวจสอบสภาพแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ ซึ่งหากขาดการดูแลและตรวจสอบเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้การทำงานและประสิทธิภาพการรับแสงน้อยลง ในการดูแลรักษาสามารถตรวจสอบได้ตามนี้

  • หมั่นตรวจสอบสภาพของแผงโซล่าเซลล์ว่ามีรอยร้าว รอยแตก สีของแผงต่างไปจากเดิมหรือไม่
  • ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ เพื่อขจัดคราบฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ติดบนแผง อุปกรณ์ที่สามารถใช้ทำความสะอาดได้ควรเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดรอยข่วน เช่น แปรงขนไนลอน ผ้า หรือฟองน้ำ นำไปชุบด้วยน้ำเปล่า เพื่อล้างทำความสะอาดได้ ความถี่ในการทำความสะอาดควรอยู่ที่ 4-5 ครั้งต่อปี และควรเลือกล้างในช่วงเช้า
  • เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากแมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก คุณควรทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ เช่น แบตเตอรี่ สายไฟ กล่องอุปกรณ์ต่างๆ
  • การเลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญในตรวจสอบและทำความสะอาด มีผู้ให้บริการหลายบริษัทที่เปิดรับตรวจสอบและทำความสะอาด แต่ราคาในการให้บริการก็จะแตกต่างกันออกไป

แบบบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ขนาดเล็ก ติดแผงโซลาร์เซลล์

บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ขนาดเล็ก ติดแผงโซลาร์เซลล์

บ้านหลังเล็กๆ พร้อมจัดสวนนั่งเล่น Living Garden นำมาฝากกันอย่างต่อเนื่องนะครับ สำหรับ แบบบ้านสวยๆ สร้างโดยตู้คอนเทนเนอร์ เป็นแบบบ้านที่สร้างได้โดยง่าย แต่ต้องเป็นผู้ชำนาญด้านนี้

ลักษณะบ้านหลังนี้ ใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพียงตู้เดียวเท่านั้น ทาสีเหลืองดูสดใส ยกระดับพื้นบ้านด้วยแท่นไม้ บริเวณบ้านจัดเป็นสวนหย่อม สวนดอกไม้ที่เข้ากันได้ดีกับสีสันของบ้าน หน้าบ้าน และหลังบ้าน จัดสวนนั่งเล่น Living Garden เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟ ชิวๆ ในสวน ประตูบ้าน เลือกเป็นประตูบานกระจก วงกบอลูมิเนียม ภายในเน้นการตกแต่งแบบเรียบง่าย แม้จะเป็นเพียงพื้นที่ขนาดเล็ก

บ้านหลังเล็กๆ พร้อมจัดสวนนั่งเล่น Living Garden

แต่ก็สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยได้อย่างลงตัว บ้านหลังนี้ไม่เพียงแค่เป็นการนำตู้คอนเทนเนอร์เก่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ยังช่วยโลกด้วยการติดแผงโซลาร์เซลล์ ใช้พลังงานทดแทนจากด้วงอาทิตย์ โดยทำการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาบ้าน เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับไอเดียเล็กๆ แบบนี้