บ้านคอนกรีตผสมไม้ คุณสมบัติเด่นที่สุดของคอนกรีต ที่ทำให้ผู้ออกแบบอาคารอย่าง สถาปนิกหรือวิศวกรเลือกมาใช้งานคือ การที่คอนกรีตนั้นสามารถทนต่อแรงกดอัด (Compression) ได้สูงมาก และยังสามารถทำให้อยู่ในรูปร่าง ที่หลากหลายได้ตามลักษณะของแม่พิมพ์ที่ใช้
เราจึงเห็นการประยุกต์ ใช้งานคอนกรีตได้มากมาย (ในอดีตมนุษย์นำหินมาสร้างที่พักอาศัย เพราะมีความแข็งแรงแต่เมื่อเกิดการพัฒนาเรื่อยมามนุษย์ ต้องการความแข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน คอนกรีตจึงถูกคิดค้นและผลิตมาเพื่อทดแทนการใช้งานหินธรรมดาในการก่อสร้าง)
บ้านคอนกรีตผสมไม้
แต่ในความเป็นจริงแล้วอาคารทุกประเภท บ้านเดี่ยว ตั้งแต่เล็กจนใหญ่ไม่เพียง แต่ต้องรับแรงกดที่สูงได้ดีเท่านั้น แต่ยังต้องมีความสามารถในการทนต่อแรงดึงด้วย (Tension) แต่ว่าน่าเสียดายที่คอนกรีตนั้นมีความแข็ง (Hardness) ที่ดีมากเสียจนแทบจะไม่มีคุณสมบัติที่ทนต่อแรงดึงได้
ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบอาคารอย่างวิศวกรโยธา และนักวัสดุศาสตร์จึงกลบ ข้อด้อยข้อนี้ของวัสดุ คอนกรีตด้วยการเสริมเหล็กเส้นที่ทำหน้าที่เป็นวัสดุเสริมแรง (reinforcement) เข้าไปเมื่อทำการก่อสร้างจริง เพื่อให้อาคารที่ถูกสร้างนั้นมีความแข็งแรง คงทน มอบความมั่นใจ สำหรับผู้อยู่อาศัยได้
กรณีที่อาคารต้องรับแรงดึง เช่น ในวันที่อุณหภูมิบรรยากาศนั้นสูงมากเสียจนทำให้คอนกรีตเกิด การขยายตัวและสร้างแรงดึงภายในเนื้อวัสดุขึ้นมาด้วย
ปัจจุบันการสร้างบ้านมีระบบก่อสร้างที่หลากหลาย แต่ที่พบเห็นในประเทศไทยมากที่สุด คือบ้านปูนและบ้านไม้ โดยบ้านไม้ส่วนใหญ่จะพบเห็นในชนบท ส่วนบ้านปูจะพบเห็นได้ทั่วไป
ขณะที่ระบบก่อสร้างใหม่ ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้ คือ บ้านคอนกรีต ที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast และบ้านโครงสร้างเหล็กผสมปูน โดยระบบก่อสร้างที่แพร่หลายใน อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ คือ บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งจะพบเป็นได้ในโครงการบ้านจัดสรรทั่วไป
แบบที่ 1 บ้านคอนกรีตผสมไม้ ร่วมสมัยรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้ของเก่ามารีไซเคิล
บ้านแต่ละหลังเวลาที่สร้างก็จะมีคอนเซ็ปที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่นะครับ แม้แต่บ้านจัดสรรก็ยังมีรายละเอียดการตกแต่ง ที่ทำให้รู้ว่าเจ้าของบ้านมีบุคลิค สไตล์ และความชอบอย่างไร อย่างบ้านหลังนี้ในสิงคโปร์ เป็นหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าเจ้าของมีความทันสมัย รักความเรียบง่าย แต่ไม่ละทิ้งสิ่งแวดล้อม แถมยังเห็นคุณค่าของสิ่งที่คนอื่นอาจไม่เห็นคุณค่า ด้วยการนำของเก่ามาออกแบบตกแต่งประกอบเข้าเป็นบ้านที่ดูเต็มไปด้วยเรื่องราว และยังออกแบบได้เหมาะกับการอยู่อาศัยในเขตร้อน บ้านหลังนี้จะชวนติดตามแค่ไหนต้องตามไปชมกันใกล้ ๆ เลย
The 9 Jalan Siap เแ็นโปรเจ็คบ้านที่ออกแบบโดย บริษัท สถาปัตยกรรม ONG & ONG ประเทศสิงคโปร์ ในปีพ. ศ. 2551 คอนเซ็ปบ้านนี้คือต้องการรักษาวัสดุเก่า ๆ กลิ่นอายแบบพื้นถิ่นและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงนำกระเบื้องหลังคาเก่าที่นำกลับมาใช้ใหม่ในส่วนผนัง แม้จะตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างต่ำ แต่ความสูงของบ้านและการจัดมุมเปิดชั้นบน ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันเขียวชอุ่มของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Bukit Timah ซึ่งเป็นจุดที่น่าอยู่มาก ๆ ใน Singapore เพราะมีลักษณะที่ตั้งเป็นเนินเขา มีถนนสายที่ยาวที่สุดของประเทศเป็นซิกเนอเจอร์
จากบริเวณหน้าบ้านจะเห็นการผสานวัสดุทั้งของเก่า ของใหม่ ของพื้นเมือง และธรรมชาติเข้ามาเก็บไว้ในตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นกำแพงจากกระเบื้องดินเผาเก่า ๆ ไม้ แผ่นหิน ที่ประกอบเป็นตัวบ้าน ซึ่งเข้ากันได้ดีกับการจะสวนน้ำตกแต่งด้วยหินสีใกล้เคียงกับบ้าน ส่วนประกอบของบ้านที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณของเก่า ยังเป็นเหมือนอนุสรณ์ที่ช่วยชุบชีวิตของที่ดูเหมือนหมดคุณค่าให้กลับมาใช้งานได้ บ้านจัดสรร และเติมผิวที่สัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับบ้านได้ด้วย
จากบริเวณด้านข้างของตัวบ้านจะเห็นศาลาเล็ก ๆ หน้าบ้าน ที่สร้างเอาไว้ให้สมาชิกได้นั่งชมสวนบัว อาคารสองชั้นโทนสีเย็น ๆ ทำจากคอนกรีตเปลือยสไตล์โมเดิร์น ผสมงานไม้เป็นจุด ๆ บริเวณราวระเบียงและหลังคา ทำให้อาคารคอนกรีตมีลุคพื้นเมืองผสมอยู่ด้วย บ้านจึงไม่ดูดิบแข็งและโมเดิร์นจนไม่เหลือรากเหง้าของท้องถิ่น
การจัดลานกลางบ้าน และทำโถงสูงแบบ Double Space ที่ติดหน้าต่างบานสูงรอบ ๆ เป็นที่ว่างจากจากพื้นจรดเพดานช่วยให้มีการระบายอากาศ ตามธรรมชาติทำได้ดี บ้านจึงเย็นสบายและสว่างสดใส จากช่องแสงบริเวณเพดาน ช่วยให้มั่นใจว่าการใช้พลังงานในบ้าน จะลดลงในช่วงเวลากลางวัน
การตกแต่งภายในที่เน้นการนำเสนอ ความจริงใจในการใช้วัสดุ โดยไม่ปรุงแต่งมาก และการวางของที่ดูไม่มีคุณค่าให้กลายเป็นองค์ประกอบ ของบ้านที่สร้างเสน่ห์ ของตัวบ้านได้อย่างน่าสนใจ พื้นบ้านปูด้วยไม้สีน้ำตาลเข้มเรียบ ๆ ด้านหนึ่ง ตีเป็นช่องสลับแนวตั้งและแนวนอนอีกฝั่งหนึ่ง ทำให้เกิดความน่าสนใจ บริเวณมุมมีช่องเล็ก ๆ ใส่หินเข้าไป วางงานโถดินเผาเก่า ๆ ขนาดใหญ่ลงไปอีก 2 ชิ้นทำให้บรรยากาศมุมนี้ เหมือนสวนแสดงงานศิลปะในร่ม
แบบที่ 2 บ้านคอนกรีตผสมไม้ใส่กระจก
การสร้างบ้านสักหลังบางทีก็รู้สึกว่ายาก ทั้งการเลือกแบบ การมองหาวัสดุที่ดีและคุ้มค่า แต่ถ้าอยากจะลดความยากลงก็น่าจะลองเริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงเรียบง่าย วัสดุที่เข้าถึงได้ไม่ยาก รอบบ้านเปิดกว้างเชื่อมโยงนำพาธรรมชาติ แสง ลม ต้นไม้ ให้เข้ามาใกล้ชิดกับคน เท่านี้อาจจะก็สร้างความเป็นอยู่ที่ดีมากกว่าที่คิด ตัวอย่างหนึ่งที่เราจะนำชมในเนื้อหานี้คือ บ้านคอนกรีตผสมไม้ที่ดู ภายนอกเป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยม แต่ทุกจุดของบ้านผ่านการคิดมาอย่างดีให้ทุกก้าวเต็มไปด้วยความสุข และเอื้อให้ซึมซับสิ่งรอบตัวได้อย่างช้า ๆ แต่อิ่มเอม
บ้าน ที่ครบทั้งหนัก เบา โปร่ง และทึบ บ้านสองชั้นพื้นที่ใช้สอย 409.9 หลังนี้ ตั้งอยู่บนชายฝั่งตอนกลางของประเทศชิลี ล้อมรอบด้วยต้นไม้ และมีวิวทะเลที่สวยงามในทิศใต้ สถาปนิกผสมผสานความเรียบง่าย ของวัสดุหลัก ๆ ที่มีคุณสมบัติตรงข้ามเข้าด้วยกัน จะเห็นว่าด้านหนึ่ง เน้นเปลือกที่แข็งแรง หนา หนัก ของคอนกรีต อีกด้านหนึ่งนำเสนอความอบอุ่นและโยนจากไม้สีน้ำตาลเข้ม และพยายามนำแสงเข้ามา ภายในด้วยการแทรกกระจกใสเข้าไปในหลาย ๆ จุด เพื่อให้ทำหน้าที่ผนังปกป้องบ้านได้โดย ไม่สูญเสียมุมมองของมหาสมุทร
ลักษณะอาคารจะจัดแบ่งเป็นสองส่วน แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านโถงบันได ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ตรงกลาง เปิดออกให้อากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ดีตามธรรมชาติ รอบ ๆ บ้านปูด้วยกรวด และปลูกต้นไม้ไว้รายล้อม ความเป็นธรรมชาติเหล่านี้เมื่อมารวมเข้า กับผนังที่ทำจากไม้ ช่วยลดทอนความแข็ง กระด้างของคอนกรีตลง เกิดภาพความสมดุลระหว่างความหนัก เบา ทึบ และโปร่งอย่างน่ามอง
แวะชมธรรมชาติให้ชุ่มใจก่อนเข้าบ้าน ตัวบ้านที่ตีด้วยไม้ในแนวนอน ทำให้รู้สึกว่าบ้านที่ค่อนข้างสูง มีความถ่อมตัว ในขณะเดียวกันผนังคอนกรีตหลาย ๆ จุดกลับเลือกแสดงพื้นผิวให้เห็นริ้วลายแม่แบบในแนวตั้ง เพื่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมีมิติของเส้นสาย แนวนอนและแนวตั้ง
ภายในบ้านจัดพื้นที่สาธารณะพร้อมห้อง ครัวขนาดใหญ่เอาไว้ที่ชั้นล่าง ซึ่งเต็มไปด้วยช่องแสง ที่เจาะอยู่บนผนัง ใต้หลังคา และเหนือขอบผนัง การออกแบบที่คำนวณทิศทาง การเดินทางของแสง และองศาในการตกกระทบ ทำให้บ้านได้รับแสงในตำแหน่งและปริมาณที่พอเหมาะกับการใช้งาน หลังคาเฉียงสูงเพิ่มพื้นที่ จากพื้นถึงเพดานที่มากขึ้น เมื่อมารวมเข้ากับผนังกระจกก็ยิ่งผนึก กำลังสร้างความรู้สึกโล่ง และโปร่งให้กับบ้าน
ช่องแสงข้างผนังรับวิวหลากมุมมอง ส่วนที่พักส่วนตัวถูกจัดแยกไว้บนชั้นสอง ประกอบด้วยห้องนอนของสมาชิกในบ้าน มีจุดเด่นคือภายในบ้านสามารถรับแสงได้จากช่องแสง สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่างๆ ตามจังหวะที่เจาะเอาไว้ตามผนัง โดยเฉพาะในส่วนที่ขนาบบันไดเอาไว้ ไม่ว่าจะเดินขึ้นหรือลงบันได แต่ละขั้นจะมองเห็นทิวทัศน์ มุมสูงที่มองเห็นได้ในทิศทางที่ต่าง ๆ กัน สำหรับหน้าต่างที่เปิดไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกของบ้าน ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากแสง และช่วยให้อุณหภูมิ ของบ้านอบอุ่นขึ้นในช่วงฤดูหนาวด้วย